Translate : )

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

 

ประวัติการลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริง
วันลอยกระทง
เป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
กิจกรรมวันลอยกระทง
  1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
  2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
  3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
  4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
    วันลอยกระทง
เหตุผลในการลอยกระทง
  1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
  3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
การลอยกระทงในปัจจุบัน
การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน
การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
ยี่เป็ง

การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา

วันทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน :)

"กฐิน" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบตัดจีวร ในสมัยก่อน การตัดเย็บจีวรเป็นเรื่องใหญ่ ทำยาก เพราะไม่มีเครื่องทุ่นแรง เช่น จักรเย็บผ้า และไม่มีร้านขายจีวรสำเร็จรูป พระภิกษุจึงต้องตัดเย็บจีวรเอง โดยช่วยกันหลายๆ รูป และใช้ไม้สะดึงขึงผ้าเพื่อกะตัด เย็บ การใช้ไม้สะดึงช่วยในการตัดเย็บจีวร สะดวกแก่ผู้ไม่ชำนาญในการตัดเย็บ
"กฐิน" ตามความหมาย ของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ คือ "ผ้าที่ถวายพระซึ่งจำพรรษาแล้ว"
การทอดกฐิน ก็คือการน้ำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้เจาะจงว่าจะถวายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนถึง กลางเดือน ๑๒ มีกำหนด ๑ เดือน ภายหลังจากออกพรรษาแล้ว จะทอดก่อนหรือภายหลังที่กำหนดนี้ไม่ได้

ที่มาของประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินมีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังมีตำนานดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีประภาคประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐาซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว ๖ โยชน์ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้น ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์ และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษา แล้วก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอ แม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยโคลนอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง ๓๐ รูปได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้งพระองค์ตรัสถาม จึงได้เรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถาภิกษุเล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล ในลำดับนั้นพระบรมศาสดา ทรงดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านี้ จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ในเมื่อออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาต จึงได้เป็นผู้ถวายกฐินเป็นคนแรก

ประเภทของกฐิน


กฐินมีหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่มีข้อกำหนด กระบวนการ และขั้นตอนของพิธีกรรมี่แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวถึงกฐินหลายประเภท(ในยุคปัจจุบัน) โดยสังเขปดังนี้
๑. กฐินหลวง เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชดำเนินไปทรงทอดเอง หรือพระราชทานให้บุคคลอื่น หรือหน่วยงานต่างๆ ไปทอดถวาย แบ่งออกได้ดังนี้
๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดด้วยพระองค์เอง ณ วัดหลวง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๑๖ วัด เป็นวัดในกรุงเทพฯ ๑๒ วัด และ ในต่างจังหวัด ๔ วัด คือ

๑.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม๒.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๓.วัดสุทัศน์เทพวราราม๔.วัดบวรนิเวศวิหาร
๕.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม๖.วัดเทพศิรินทราวาส
๗.วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม๘.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๙.วัดอรุณราชวราราม๑๐.วัดมกฎกษัตริยาราม
๑๑.วัดราชาธิวาส๑๒.วัดโอรสราราม
๑๓.วัดนิเวศธรรมประวัติ(จ.พระนครศรีอยุธยา)๑๔.วัดวรรณดาราราม(จ.พระนครศรีอยุธยา)
๑๕.วัดพระศรีมหาธาตุ(จ.พิษณุโลก)๑๖.วัดพระปฐมเจดีย์(จ.นครปฐม)
๑.๒ กฐินต้น คือกฐินส่วนพระองค์ เริ่มมีมาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดจากการเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์ หรือเสด็จประพาสต้น
๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าพระกฐินของหลวงแก่กระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม ตลอดจนเอกชนที่รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายวัดหลวงต่างๆ (ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัด ดังกล่าวแล้ว)
๒.กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ชาวบ้านนำไปทอดหรือถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา มีชื่อเรียกแตกต่างก้นไปตามกระบวนการของการทอด ได้แก่
๒.๑ มหากฐิน คือกฐินที่กระทำเป็นประเพณีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า มหากฐิน เพราะชาวบ้านมีเวลาตระเตรียมนานวัน จำนวนผู้ไปร่วมทอดกฐินมีมาก จึงเรียกว่า มหากฐิน
๒.๒ กฐินสามัคคี คือ กฐินทั่วไปที่มิเจ้าภาพร่วมกันหลายคน กฐินประเภทนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นการแสดงความสามัคคีที่ได้ทำบุญร่วมกัน ทั้งได้รับความสนุกสนานบันเทิงใจด้วย
๒.๓ จุลกฐิน เป็นกฐินที่จัดเป็นพิธีการใหญ่ ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่าได้อานิสงส์มาก เพราะทุกลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้น จนกระทั่งถึงการทอดถวายนั้น ต้องกระทำได้สำเร็จเสร็จสิ้น ภายในวันเดียว จึงต้องใช้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันมาก ถือเป็นงานทีแสดงถึงพลังสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจุบันจึงไม่สู้จะมีงานกฐินนี้ให้เห็นแล้ว
๒.๔ กฐินตก หรือกฐินโจร เป็นกฐินที่นำไปทอดที่วัดใดวัดหนึ่งที่ตกค้างจากการทอดกฐินในปีนั้น การนำไปทอดจะกระทำโดยไม่บอกกล่าวทางวัดล่วงหน้า ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นกฐินตกค้างหรือกฐินโจร เพราะไปทอดในลักษณะจู่โจม

My profile ♥



Hello! everybody

welcome to my blog

************************

ยินดีต้อนรับสู่ Bnbososmile :D


ที่จะนำพาทุกคนสู่โลกแห่งรอยยิ้ม (หรอ?)และเสียงหัวเรา ฮ่าฮ่าๆๆ



Profile :3

ชื่อ-สกุล : ญาณิศา ดีศานุวัฒน์ {Yanisa Deesanuwat}

ชื่อเล่น :โบนัส (ความจริงเพื่อนเรียก "ป้าโบ" อ่ะนะ 5555 )

ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ : โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ชั้น : ม.3/4

เลขที่ : 25 รหัสประจำตัว :35571

ลืมตาดูโลก : 26 กันยายน 2540 ตอนนี้ก็ 15 ปีละ -__- ไม่อยากเป็นนางสาวเบย

ความสามารถ : ร้องเพลงละมั้ง เมื่อก่อนรำไทย ตีขิมเป็น ตอนนี้หมดอ่ะ หมดทุกอย่าง 5555

งานอดิเรก : ชอบร้องเพลง ฟังเพลงได้ทั้งวัน อ่านหนังสือทุกประเภท

ศิลปินที่ชื่นชอบ : โดม แกงส้ม แกรนด์ ( the star), ดา เอนโดรฟิน บลาๆ เยอะมาก  
 
สีที่ชอบ : สีฟ้า สีเขียว สีดำ

คำคมที่ชอบ : การมีเพื่อนเยอะนะ เป็นเรื่องที่ดี แต่การมีเพื่อนดีๆนะ มันดีกว่าเยอะ :)

นิสัยเรา ขี้บ่น แต่จริงใจฮะ ถ้ามีอะไรให้ช่วยได้ ก็จะช่วยเต็มที่ แต่ไม่ชอบคนที่ต่อหน้าอย่าง ลับหลังอย่างนะ :D

ไหนๆก็ไหนๆละมาดูป้าโบบ่นเพลงหน่อยนะ อิอิ พอดีว่าไปสอบร้องเพลงมานะ
แต่ถ้าไม่ดูก็ไม่ว่าอะไรนะ 55555 
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนเพลงที่อยากแนะนำ

ซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุด I love your smile ของแกงส้ม เพราะมากกก

เพลงที่ติดอันดับ Top 100 youtube ด้วยน้าา
เพลงศิลปินชาวต่างชาติ เทเลอร์ สวิตซ์ น่าจะรู้จักกันดี ลุคนี้เท่มาก ; )
และอีกเพลงกับ Greyson เพลงเขาความหมายดีทุกเพลง แถมเพราะด้วย ^0^

เดี๋ยวจะมาอัพเดทเพลงเพราะๆอีกนะจ้ะ

สามารถติดต่อกับเราได้ที่
FB : Yanisa Deesanuwat
Youtube channel : Bnbososmile nana
ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะจ้า