Translate : )

Cartoon (Flash)

 
 
 
 
 
 
 
 
การ์ตูนโดโมะลอกลาย
 
ญาณิศา ดีศานุวัฒน์ ม.3/4 เลขที่ 25

ตัวการ์ตูนสุดน่ารัก? ที่ทุกคนชื่นชอบ : )

บ้าน

 



 ท้องฟ้าแจ่มใส พระอาทิตย์แสดส่อง ถนนบนต้นไม้ใหญ่ และรถคู่ใจ
ความสุขเล็กๆที่เรียกว่า 'บ้าน' ♥

วันคริสต์มาส ♥


 
 
ตำนานวันคริสต์มาส☻
 
 
         
     คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

      เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

            นักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

          เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม



 

ซานตาครอสและถุงเท้าวันคริสต์มาส

 

 
 
 
            เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
          ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง
 

ต้นคริสต์มาส

               ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส
 
ของขวัญวันคริสต์มาส ♪


การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ
 
         
               ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์ Happy christmas day :)
 


 





 



วันรัฐธรรมนูญ


ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญความหมาย
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ


วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ความเป็นมา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ



สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะ
รัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันพ่อแห่งชาติ

ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ คงจะเป็นวันอะไรไม่ได้ นอกจาก ..

"วันพ่อแห่งชาติ"
ความเป็นมาของ วันพ่อแห่งชาติ
                  วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
 
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้ง วันพ่อแห่งชาติ

                          โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและ สังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น วันพ่อแห่งชาติ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของ  พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลาน เธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น พ่อ ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือพระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดีและอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่าทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ คือองค์อดิเรก
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน
                        นอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติ ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป
 
ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วันพ่อแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง
สำหรับคุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง คณะกรรมการได้กำหนดไว้ดังนี้
1. มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
2. ส่งเสริมการศึกษาแกบุตรและธิดา
3. นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4. งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5. อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
6. มีภรรยาเพียงคนเดียว
หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร
  • ห้ามมิให้ทำความชั่ว – ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี – ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
  • ให้ศึกษาศิลปวิทยา – ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
  • หาคู่ครองที่สมควรให้ – เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
  • มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร – มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง
หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน – เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน – ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล – ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก – ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ – ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย
วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น วันชาติของไทย อีกด้วย
 
 

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

 

ประวัติการลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริง
วันลอยกระทง
เป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
กิจกรรมวันลอยกระทง
  1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
  2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
  3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
  4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
    วันลอยกระทง
เหตุผลในการลอยกระทง
  1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
  3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
การลอยกระทงในปัจจุบัน
การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน
การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
ยี่เป็ง

การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา

วันทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐิน :)

"กฐิน" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบตัดจีวร ในสมัยก่อน การตัดเย็บจีวรเป็นเรื่องใหญ่ ทำยาก เพราะไม่มีเครื่องทุ่นแรง เช่น จักรเย็บผ้า และไม่มีร้านขายจีวรสำเร็จรูป พระภิกษุจึงต้องตัดเย็บจีวรเอง โดยช่วยกันหลายๆ รูป และใช้ไม้สะดึงขึงผ้าเพื่อกะตัด เย็บ การใช้ไม้สะดึงช่วยในการตัดเย็บจีวร สะดวกแก่ผู้ไม่ชำนาญในการตัดเย็บ
"กฐิน" ตามความหมาย ของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ คือ "ผ้าที่ถวายพระซึ่งจำพรรษาแล้ว"
การทอดกฐิน ก็คือการน้ำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้เจาะจงว่าจะถวายภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนถึง กลางเดือน ๑๒ มีกำหนด ๑ เดือน ภายหลังจากออกพรรษาแล้ว จะทอดก่อนหรือภายหลังที่กำหนดนี้ไม่ได้

ที่มาของประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินมีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังมีตำนานดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีประภาคประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐาซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว ๖ โยชน์ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้น ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์ และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษา แล้วก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอ แม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยโคลนอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง ๓๐ รูปได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้งพระองค์ตรัสถาม จึงได้เรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถาภิกษุเล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล ในลำดับนั้นพระบรมศาสดา ทรงดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านี้ จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ในเมื่อออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาต จึงได้เป็นผู้ถวายกฐินเป็นคนแรก

ประเภทของกฐิน


กฐินมีหลายประเภท ซึ่งล้วนแต่มีข้อกำหนด กระบวนการ และขั้นตอนของพิธีกรรมี่แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวถึงกฐินหลายประเภท(ในยุคปัจจุบัน) โดยสังเขปดังนี้
๑. กฐินหลวง เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชดำเนินไปทรงทอดเอง หรือพระราชทานให้บุคคลอื่น หรือหน่วยงานต่างๆ ไปทอดถวาย แบ่งออกได้ดังนี้
๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดด้วยพระองค์เอง ณ วัดหลวง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด ๑๖ วัด เป็นวัดในกรุงเทพฯ ๑๒ วัด และ ในต่างจังหวัด ๔ วัด คือ

๑.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม๒.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๓.วัดสุทัศน์เทพวราราม๔.วัดบวรนิเวศวิหาร
๕.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม๖.วัดเทพศิรินทราวาส
๗.วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม๘.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๙.วัดอรุณราชวราราม๑๐.วัดมกฎกษัตริยาราม
๑๑.วัดราชาธิวาส๑๒.วัดโอรสราราม
๑๓.วัดนิเวศธรรมประวัติ(จ.พระนครศรีอยุธยา)๑๔.วัดวรรณดาราราม(จ.พระนครศรีอยุธยา)
๑๕.วัดพระศรีมหาธาตุ(จ.พิษณุโลก)๑๖.วัดพระปฐมเจดีย์(จ.นครปฐม)
๑.๒ กฐินต้น คือกฐินส่วนพระองค์ เริ่มมีมาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดจากการเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์ หรือเสด็จประพาสต้น
๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าพระกฐินของหลวงแก่กระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม ตลอดจนเอกชนที่รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายวัดหลวงต่างๆ (ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัด ดังกล่าวแล้ว)
๒.กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ชาวบ้านนำไปทอดหรือถวายพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา มีชื่อเรียกแตกต่างก้นไปตามกระบวนการของการทอด ได้แก่
๒.๑ มหากฐิน คือกฐินที่กระทำเป็นประเพณีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า มหากฐิน เพราะชาวบ้านมีเวลาตระเตรียมนานวัน จำนวนผู้ไปร่วมทอดกฐินมีมาก จึงเรียกว่า มหากฐิน
๒.๒ กฐินสามัคคี คือ กฐินทั่วไปที่มิเจ้าภาพร่วมกันหลายคน กฐินประเภทนี้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นการแสดงความสามัคคีที่ได้ทำบุญร่วมกัน ทั้งได้รับความสนุกสนานบันเทิงใจด้วย
๒.๓ จุลกฐิน เป็นกฐินที่จัดเป็นพิธีการใหญ่ ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่าได้อานิสงส์มาก เพราะทุกลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้น จนกระทั่งถึงการทอดถวายนั้น ต้องกระทำได้สำเร็จเสร็จสิ้น ภายในวันเดียว จึงต้องใช้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันมาก ถือเป็นงานทีแสดงถึงพลังสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ปัจจุบันจึงไม่สู้จะมีงานกฐินนี้ให้เห็นแล้ว
๒.๔ กฐินตก หรือกฐินโจร เป็นกฐินที่นำไปทอดที่วัดใดวัดหนึ่งที่ตกค้างจากการทอดกฐินในปีนั้น การนำไปทอดจะกระทำโดยไม่บอกกล่าวทางวัดล่วงหน้า ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าเป็นกฐินตกค้างหรือกฐินโจร เพราะไปทอดในลักษณะจู่โจม

My profile ♥



Hello! everybody

welcome to my blog

************************

ยินดีต้อนรับสู่ Bnbososmile :D


ที่จะนำพาทุกคนสู่โลกแห่งรอยยิ้ม (หรอ?)และเสียงหัวเรา ฮ่าฮ่าๆๆ



Profile :3

ชื่อ-สกุล : ญาณิศา ดีศานุวัฒน์ {Yanisa Deesanuwat}

ชื่อเล่น :โบนัส (ความจริงเพื่อนเรียก "ป้าโบ" อ่ะนะ 5555 )

ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ : โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ชั้น : ม.3/4

เลขที่ : 25 รหัสประจำตัว :35571

ลืมตาดูโลก : 26 กันยายน 2540 ตอนนี้ก็ 15 ปีละ -__- ไม่อยากเป็นนางสาวเบย

ความสามารถ : ร้องเพลงละมั้ง เมื่อก่อนรำไทย ตีขิมเป็น ตอนนี้หมดอ่ะ หมดทุกอย่าง 5555

งานอดิเรก : ชอบร้องเพลง ฟังเพลงได้ทั้งวัน อ่านหนังสือทุกประเภท

ศิลปินที่ชื่นชอบ : โดม แกงส้ม แกรนด์ ( the star), ดา เอนโดรฟิน บลาๆ เยอะมาก  
 
สีที่ชอบ : สีฟ้า สีเขียว สีดำ

คำคมที่ชอบ : การมีเพื่อนเยอะนะ เป็นเรื่องที่ดี แต่การมีเพื่อนดีๆนะ มันดีกว่าเยอะ :)

นิสัยเรา ขี้บ่น แต่จริงใจฮะ ถ้ามีอะไรให้ช่วยได้ ก็จะช่วยเต็มที่ แต่ไม่ชอบคนที่ต่อหน้าอย่าง ลับหลังอย่างนะ :D

ไหนๆก็ไหนๆละมาดูป้าโบบ่นเพลงหน่อยนะ อิอิ พอดีว่าไปสอบร้องเพลงมานะ
แต่ถ้าไม่ดูก็ไม่ว่าอะไรนะ 55555 
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนเพลงที่อยากแนะนำ

ซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุด I love your smile ของแกงส้ม เพราะมากกก

เพลงที่ติดอันดับ Top 100 youtube ด้วยน้าา
เพลงศิลปินชาวต่างชาติ เทเลอร์ สวิตซ์ น่าจะรู้จักกันดี ลุคนี้เท่มาก ; )
และอีกเพลงกับ Greyson เพลงเขาความหมายดีทุกเพลง แถมเพราะด้วย ^0^

เดี๋ยวจะมาอัพเดทเพลงเพราะๆอีกนะจ้ะ

สามารถติดต่อกับเราได้ที่
FB : Yanisa Deesanuwat
Youtube channel : Bnbososmile nana
ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะจ้า